เมนู

ทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1459] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า อิทํ ทุกฺขํ (นี้ทุกข์) ญาณว่า
อิทํ ทุกฺขํ ก็เป็นไป หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณว่า อิ ญาณว่า ทํ ญาณว่า ทุ และญาณว่า ขํ
ก็เป็นไป หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อิทังทุกขันติกถา จบ

อรรถกถาอิทัง ทุกขันติกถา



พรรณนากถาว่าด้วย การเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเปล่งวาจานี้ทุกข์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด
มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค
เกิด พระโยคาวจรย่อมเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์ ฉันใด ญาณว่านี้ทุกข์ย่อม
เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้กล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ฉันนั้น ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาทีหมายเอาการ
กล่าววาจาเช่นนั้น และความเป็นไปแห่งญาณในขณะแห่งมรรค. อนึ่ง
ปรวาทีนั้นปรารถนาว่า ปุถุชนย่อมกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ
ที่เหลือ แต่ว่าญาณเช่นนั้นย่อมไม่เป็นไปแก่เขา เหตุใด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงปฏิเสธในปัญหามี สมุทัย เป็นต้น.

คำว่า เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวด้วย
สามารถแห่งการแสดงปริยายแห่งทุกข์. ก็เมื่อปรวาทีไม่เห็นโวหารเช่นนั้น
ในลัทธิของตน จึงตอบปฏิเสธ.
คำว่า ญาณว่า อิ ญาณว่า ทํ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดง
คำว่า ถ้าว่าญาณในทุกข์ของปุถุชนย่อมเป็นไปได้ไซร้ ก็ย่อมจะเป็นไป
ด้วยญาณ 4 โดยลำดับในอักษร อิ. อักษร ทํ อักษร ทุ. อักษร ขํ (อิทํ ทุกฺขํ)
แต่ปรวาทีไม่ปรารถนาเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ.
อรรถกถาอิทังทุกขันติกถา จบ

อิทธิพลกถา



[1460] สกวาที ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอด
กัลป์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อายุนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ คตินั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ การ
ได้อัตภาพนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่
เป็นอนาคต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ที่ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ตลอด 2 กัลป์ พึงตั้งอยู่ตลอด 3 กัลป์ พึง
ตั้งอยู่ตลอด 4 กัลป์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่ หรือ